“กระเจี๊ยบมอญ” สรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ ช่วยชะลอแก่

กระเจี๊ยบมอญ
กระเจี๊ยบมอญ
ภาพโดย punnamjai จาก Pixabay

กระเจี๊ยบมอญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus (L.) Moench ชื่อตามท้องถิ่นเรียกว่า มะเขือมอญ กระเจี๊ยบ มะเขื่อทะวาย มะเขื่อพม่า มะเขื่อมื่น มะเขือละโว้

กระเจี๊ยบมอญ มีลักษณะเป็น ไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม.

สรรพคุณทางยา 
การใช้งานในประเทศไทยกล่าวว่า น้ำกระเจี๊ยบเป็นยากัดเสมหะ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด (อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ขับปัสสาวะ) ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต แก้อาการขัดเบา และสามารถลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย

ส่วนผลอ่อนต้มกินติดต่อกัน 5-8 วัน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ผลแห้งป่นเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ  เมล็ดบดเพื่อเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และยาบำรุง น้ำต้มดอกแห้งมีกรดผลไม้และ AHA หลายชนิดในปริมาณสูง ปัจจุบันมีคนนำเข้าเนื้อครีมหน้าใสเป็นสินค้าโอท็อปชื่อดังไปแล้ว

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ดอกกระเจี๊ยบมีสารต้านอนุมูลอิสระมากในปริมาณใกล้เคียงกับบลูเบอร์รี่ เชอร์รี่และแครนเบอร์รี่ จึงอวยประโยชน์ด้านป้องกันมะเร็ง ชะลอแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม

น้ำต้มดอกกระเจี๊ยบแห้งมีสารแอนโทไซยานินสูง สารกลุ่มนี้เองเป็นสารหลัก (เกินร้อยละ 50) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อีกกลุ่มจะเป็นสารโพลีฟีนอลซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน สารโพลีฟีนอล ได้แก่ protocatechuic acid ไม่สลายไปเมื่อได้รับความร้อนนานๆ แต่สารแอนโทไซยานินในน้ำกระเจี๊ยบจะมีปริมาณลดลงเมื่อได้รับความร้อนต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

น้ำกระเจี๊ยบจะมีใยอาหารละลายน้ำได้ประมาณ ๐.๖๖ กรัม/ลิตร มีสารโพลีฟีนอลถึงร้อยละ ๖๖ ของปริมาณที่มีในกลีบเลี้ยง สรุปว่ามีใยอาหารและโพลีฟีนอล ๑๖๖ และ ๑๖๕ มิลลิกรัม/แก้ว จึงนับว่าน้ำกระเจี๊ยบเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่า

คุณค่าทางโภชนาการ

กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี อยู่ในปริมาณพอสมควร

สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มี่ประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง

ประโยชน์ :

–  ฝักอ่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง กินได้ ในต่างประเทศบรรจุเป็นอาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง เมล็ดแก่มีน้ำมันมาก กากเมล็ดมีโปรตีนเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์

–  เส้นใยจากต้นใช้ทำเชือกและกระดาษ นอกจากนี้โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งในอินเดียยังนำเมือกจากต้นมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด

–   ยาแผนโบราณของจีน ใช้ราก เมล็ด และดอก  เป็นยาขับปัสสาวะ

มีข้อห้าม

เวลาต้มต้องให้สุกจริงๆ ถ้าไม่สุกจะเหม็นเขียว กินแล้วจะเป็นอันตรายเกิดการเบื่อเมาได้

น้ำกระเจี๊ยบ
photo : Na-vigator.com

วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบง่ายๆ

ส่วนผสม
ดอกกระเจี๊ยบแห้ง น้ำตาลทราย (หรือใบหญ้าหวาน) เกลือ
วิธีทำ
นำดอกกระเจี๊ยบแห้งล้างน้ำทำความสะอาด ใส่หม้อต้มจนเดือด  เคี่ยวจนน้ำเป็นสีแดงข้น กรองเอาดอกกระเจี๊ยบออก ปล่อยให้เดือดสักครู่ ยกลงเติมน้ำตาลและเกลือลงไป แบ่งใส่แก้ว เติมน้ำแข็งดื่มได้ทันที หากทำมากก็กรอกใส่ขวด แช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน หรือนำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ปริมาณครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มได้สะดวกเช่นกัน แก้ไอขับเสมหะโดยกระเจี๊ยบแดง

วิธีที่ 1 
ใช้กระเจี๊ยบสดหรือแห้งประมาณ 1-2 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ขวดน้ำปลา เติมน้ำตาล 2 ช้อนแกง และเกลือครึ่งช้อนชาดื่มเคี่ยวให้เหลือแก้วครึ่ง ใช้จิบบ่อยๆ ขณะน้ำยาอุ่น

วิธีที่ 2
ใช้ใบสด 1-2กำมือ เติมเกลือพอเค็ม ใส่น้ำ 3 แก้วเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว จิบบ่อยๆ

วิธีที่ 3
ใช้ใบสด 3-5 ใบ ตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยคั้นเอาน้ำกินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ จิบก่อนอาหารหรือทุกครั้งที่ไอ

อ้างอิงจาก

http://www.samunpri.com

http://www.baanjomyut.com

www.facebook.com/สมุนไพรไทยดีที่สุดในโลก

www.doctor.or.th/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *