จีนใช้นโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”เร่งพัฒนาระบบการขนส่งอัจฉริยะระหว่างประเทศ

ขนส่งอัจฉริยะ

นโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road) ของจีน กําลังมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบเครือข่ายการขนส่งสินค้าทั่วโลกให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น โดยการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสนามบิน ท่าเรือ และรถไฟ รวมถึงธุรกิจการขนส่ง และธุรกิจการบินในจีนมีการนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับระบบสารสนเทศอัจฉริยะ เพื่อช่วยให้การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนมีความสะดวกรวดเร็ว มีการบริหารจัดการที่แม่นยำ และช่วยลดต้นทุนคลังเก็บสินค้า ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งสินค้าจากเมืองอี้อู (Yiwu) ไปมหานครลอนดอน (London) เดิมใช้การขนส่งสินค้าทางทะเล ต้องใช้เวลาประมาณ 45 วัน ในการขนส่งสินค้า แต่หากใช้การขนส่งรูปแบบใหม่ที่จีนกําลังพัฒนานี้ จะสามารถใช้เวลาเพียง 14 วัน ในการขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถประหยัดเวลาได้มากขึ้น

บริษัท DB Schenker ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สังกัดภายใต้บริษัทการรถไฟในประเทศเยอรมนี ก็ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เช่นกัน โดยบริษัทฯ ให้บริการการขนส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถยนต์ทางทะเล ทางรถไฟ และทางบกระหว่างเมืองฉงชิ่ง (Chongqing) ประเทศจีน และทวีปยุโรป ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ให้บริการการขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย (Perishable Goods) ระหว่างทวีปเอเชีย และยุโรป ซึ่งถือเป็นการบริการรูปแบบใหม่ครั้งแรกระหว่างสองทวีปนี้ โดยทําการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์แบบห้องเย็นที่บรรจุสินค้าประเภทอาหารสด จํานวน 11 ตู้ ภายในเวลาเพียง 15 วัน จากเมืองเฉิงตู (Chengdu) ไปยังกรุงมอสโก (Moscow) ประเทศรัสเซีย

ในขณะเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ทางไปรษณีย์จีน (China Post) ได้สร้างคลังเก็บสินค้าสําหรับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross-Border E-commerce) และเขตอุตสาหกรรม รวม 144 แห่ง และยังสร้างคลังเก็บสินค้าในต่างประเทศ รวม 11 แห่ง ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เป็นต้น

ในขณะที่ ธุรกิจการขนส่ง JD Logistics ของบริษัทอีคอมเมิร์ซจีน JD.com ได้นําเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้กับระบบการขนส่ง ทําให้ไม่ต้องใช้แรงงานคนในทุกขั้นตอนกระบวนการขนส่ง โดยในขณะนี้ ทางบริษัท JD.com มีเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานข้ามพรมแดนที่ท่าเรือ ราวสิบกว่าแห่ง มีคลังเก็บสินค้าต่างประเทศกว่า 110 แหง มีถนนที่ใช้ในการขนส่งทั่วโลกเกือบหนึ่งพันสาย และมีเครือข่ายการขนส่งทั่วประเทศจีน โดยครอบคลุมประเทศและเขตการปกครองจากทั่วโลกกว่า 224 แห่ง ถือว่า JD Logistics ได้พัฒนาระบบสารสนเทศอัจริยะที่สามารถช่วยให้การขนส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีความสะดวกรวดเร็ว และมีการจัดการที่แม่นยำ

ตามแผนพฒนาเขตอาวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าที่ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยการพฒนาเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สําคัญในการดําเนินการตามนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีน ซึ่งตามแผนพัฒนาดังกล่าว มีการกล่าวถึงการยกระดับของท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง โดยกว่าร้อยละ 40 ของสินค้าที่ขนส่งทางอากาศในฮ่องกง ถูกขนส่งโดยใช้ห้องเก็บสัมภาระใต้ท้องเครื่องบิน และตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ปริมาณการขนส่งสินค้าของท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงสูงกว่าท่าอากาศยานนานาชาติ เมมฟิสของสหรัฐฯ โดยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลก ในปี 2561 ปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างฮ่องกง และประเทศในทวีปเอเชียยังเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย เช่น ประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 28 ประเทศไทยเพิ่มส่งขึ้นร้อยละ 21 และประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 18

ในงานประชุมการขนส่งสินค้าระดับโลกประจําปีในครั้งนี้ ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้มอบใบรับรองการขนส่งสินค้าประเภทอาหารสด (CEIVFresh) แก่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ซึ่งถือเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกของโลกที่ได้รับมอบใบรับรองดังกล่าว อีกทั้งในช่วงก่อนหน้านี้ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงยังได้รับมอบใบรับรองการขนส่งสินค้าประเภทยาและเภสัชภัณฑ์ (CEIVPharma) จาก IATA อีกด้วย ซึ่งใบรับรองเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบริการการขนส่งทางอากาศของท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และยังนํามาซึ่งการเพิ่มโอกาสทางการค้าแก่ธุรกิจในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า อีกด้วย

แหล่งที่มา http://news.hexun.com/2019-03-18/196527369.html , ditp.go.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *