พระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างวัดพนัญเชิง ก่อนมีอยุธยา

วัดนี้ตั้งอยู่ริมน้ำตรงจุดบรรจบกันระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1587 และในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พ.ศ. 1887 ได้มีการสร้างพระเจ้าพแนงเชิงขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระพนัญเชิง หรือหลวงพ่อซำปอกง ตามคำเรียกขานของชาวชุมชนจีน แต่ยุคแรกเป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ ก่อนพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี ตามพงศาวดารเหนือว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า “วัดเจ้าพระนางเชิง”

พระวิหารหลวง เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงโรง กว้าง 13 วา สูงจากพื้นถึงอกไก่ 18 วา 2 ศอก อยู่ในผัง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ตามผนังใหญ่ ทั้ง 4 ด้าน เจาะช่องเป็นซุ้มไว้พระพุทธรูป ปางต่างๆ มีจิตรกรรมขนาดเล็ก บนผนังวิหารหลวง บอกเล่าวิถีชีวิตของคนจีน การค้าขาย การอบรมสอนหนังสือเด็ก ฯลฯ รวมทั้งวรรณกรรม ไซอิ๋ว ในวิหารหลวงนี้มีพระพุทธไตรรัตนายก (หลวงพ่อโต) เป็นประธาน ซึ่งตั้งชื่อโดยสมเด็จพระจอมเกล้าสามโปเตียน ซึ่งภาษาจีนว่า “ชำปอกง” แปลว่า “รัตนตรัย”

พระพุทธไตรรัตนายก มีการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์หลายครั้ง เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนหลักฐานการมีอยู่ก่อนของชุมชน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารหลวงพ่อโต ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก ลักษณะทั่วไปเป็นเก๋งจีน เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ซึ่งชาวจีน เรียกว่า “จู๊แซเนี้ย” อันเป็นธิดาบุญธรรมของพระเจ้ากรุงจีน ที่ได้ยกขบวนเรือนำพระนางมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นเจ้ากรุงสยามเวลานั้น

แต่พระนางสร้อยดอกหมากได้กลั้นใจตาย เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่มารับพระนางเข้าพระนคร หลังจากพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงโปรดฯ ให้อันเชิญพระศพมาพระราชทานพระเพลิงที่แหลมบางกะจะ และที่นี้เองได้สถาปนาเป็นพระอารามให้นามชื่อว่า วัดพระนางเชิง หรือวัดพระนางทำเชิง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *