เชื่อหรือไม่ ไทยสร้างเครื่องบินเองได้ตั้งแต่สมัย ร.6

ในสมัยรัชกาลที่6หลังจากย้ายสนามบินจากสนามบินสระปทุมมาอยู่ที่สนามบินดอนเมือง จึงได้มีการจัดตั้งกองบินทหารบกขึ้น และสร้างโรงงานประกอบครื่องบินที่นั่น โดยเครื่องบินปีกสองชั้นลำแรกที่ผลิตได้ สามารถบินขึ้นสู่อากาศใช้ราชการได้ดี ใช้วัสดุในประเทศและฝีมือช่างไทย เว้นแต่เครื่องยนต์ที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมและเสด็จประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันที่หน่วยบินดอนเมือง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยและขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกคนผู้ร่วมงานการผลิตขึ้น จนใช้ในราชการได้สำเร็จ

9พฤษภาคม พ.ศ.2461 จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้มีประกาศชมเชย นายพันโทหลวงอาวุธสิขิกร ผู้อำนวยการโรงงานในกองบินทหารบก และเจ้าหน้าที่โรงงานในกองบินทหารบกที่ได้ทำใบพัดเครื่องบินได้เอง โดยใช้ไม้ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองในประเทศ ความว่า
“ด้วยโรงงานในกองบินทหารบก ได้กระทำใบพัดสำหรับเครื่องบินขึ้น ได้ทดลองประกอบกับเครื่องบินและขึ้นบินจริงแล้ว ใช้ได้ดีทีเดียว นับว่าเราสามารถทำใบพัดได้เอง ใช้ของในพื้นเมืองทั้งสิ้น ทำให้เป็นทางประหยัดพระราชทรัพย์ได้อย่างดีอีกส่วนหนึ่ง
ที่โรงงานในกองบินทหารบกได้กระทำการเป็นผลสำเร็จดีเช่นนี้ ก็ด้วยอาศัยความมานะอุตสาหะพยายามของ นายพันโท หลวงอาวุธสิขิกร ผู้อำนวยการโรงงานนั้น เพราะฉะนั้นขอประกาศแสดงความชมเชยเป็นพิเศษ”

8เมษายน พ.ศ. 2464 กองโรงงานอากาศยานได้สร้างเครื่องบินฝึกแบบ นิเออปอรต์ แบบ 81 ขนาด 23 ตรม. ขึ้นจำนวน 3 เครื่อง เพื่อใช้ในการฝึกศิษย์การบิน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 สยามได้พัฒนาการบินอย่างต่อเนื่อง และสมารถสร้างเครื่องบินที่ออกแบบเองลำแรกชื่อ “บริพัตร” เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด โครงสร้างเป็นไม้บุด้วยผ้า สามารถบินได้ไกลถึงประเทศอินเดียและยังได้พระราชทานทุนส่วนพระองค์ให้นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ไปศึกษาวิชาการบินพลเรือน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย นับเป็นความก้าวหน้าของสยามหนึ่งเดียวในเอเชียที่มีแสนยานุภาพทางอากาศล้ำกว่าประเทศอื่น

ในปี พ.ศ. 2470นายพันโท หลวงเวชยันตร์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) ซึ่งเป็นผู้บังคับฝูงของโรงงาน กรมอากาศยาน ได้ออกแบบเครื่องบินเองแบบหนึ่ง แล้วสร้างขึ้น ใช้เครื่องจูปิเตอร์ 450 แรงม้า ความเร็ว 157 ไมล์ต่อชั่วโมง ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 7 ว่า “บริพัตร” ตามพระนาม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ซึ่งนับเป็นเครื่องบินลำแรกที่ออกแบบโดยคนไทย และได้บินไปโชว์ตัวถึงเมืองเดลฮีในปี พ.ศ.2472 ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย และบินไปไซ่ง่อนในปี 2473 ตามคำเชิญของรัฐบาลอินโดจีน ซึ่งตอนนี้ “บริพัตร” เครื่องนี้ก็ยังอยู่ในสภาพดีที่พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศเช่นกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 22ธันวาคม พ.ศ.2472 กรมอากาศยาน ส่งเครื่องบินแบบ บริพัตร รุ่นเครื่องยนต์ จูปิเตอร์ 2 เครื่อง (หมายเลข 2 และ 3) และ รุ่นเครื่องยนต์ บีเอ็มดับบลิว 1 เครื่อง (หมายเลข 1) เดินทางไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับอินเดีย ในนามรัฐบาลไทย ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย ในเส้นทาง ดอนเมือง – ย่างกุ้ง – อัคยับ – กัลกัตตา – อัลละฮาบัค – เดลี

เมื่อวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2473กรมอากาศยาน ส่งเครื่องบินแบบบริพัตร จำนวน 3 เครื่อง ไปเยือนรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ณ เมืองฮานอย เป็นครั้งที่สอง

อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สยามไม่สามารถผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่ๆได้ ด้วยข้อจำกัดของทุนและการทดลองวิจัย สภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ ด้วยปัจจัยหลายด้านทำให้ต้องยุติการผลิตไปในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ พิพิธประวัติศาสตร์ มนุษย์ สังคม วัฒนธรรม และ การเมือง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *