ประวัติศาสตร์

History

วิลาศโปรตุเกส

“โปรตุเกส” คือฝรั่งชาติแรกที่เดินทางมาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2054 หลังจากล่องเรือมาเข้ายึดเมืองมะละกาได้แล้ว ก็เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยได้ส่งราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการจากพระเจ้ามานูเอลแห่งโปรตุเกสเข้ามาถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วย จนมีข้อตกลงที่โปรตุเกสจะช่วยกรุงศรีอยุธยาด้านการทหาร และนำปืนไฟเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก แต่เราก็ต้องให้เสรีทางการค้าและการศาสนากับฝรั่งชาตินี้เป็นการแลกเปลี่ยน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปรากฏว่า มีทหารวิลาศโปรตุเกสจำนวน 120 คน รับหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ จนเกิดสงครามเมืองเชียงกราน

Read More
History

ประวัติความเป็นมาของแผนที่

มนุษย์รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆลงบนแผนที่ตั้งแต่โบราณ ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เสียอีก ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาตญาณพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ชาวเอสกิโมใช้การทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักไว้ที่หนังแมวน้ำเพื่อแสดงแผนที่ของบริเวณล่าสัตว์ ชาวเกาะมาร์แชลเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนแผนที่เกาะ แทนเส้นทางเดินเรือและบริเวณที่มีคลื่นลมแรง แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบ ไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน

Read More
History

บุโรพุทโธศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โบโรบูดูร์ (Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ ( Barabudur) คนไทยรู้จักในชื่อ “บุโรพุทโธ” ตั้งอยู่ บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่เมืองมาเกอลัง ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากยกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 – 1393

Read More
History

“เรือหางแมงป่อง”การเดินทางของคนเชียงใหม่ในอดีต

การเดินทางในสมัยก่อนนั้นไม่ว่าจะเป็นการติดต่อค้าขายหรือเดินทางไปไหนก็จะนิยมใช้การเดินทาง ทางน้ำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมิตรไมตรีของคนสมัยก่อนก็จะใช้การเดินทางทางน้ำเพราะเป็นการเดินทางที่สะดวกมากที่สุดในยุคอดีตโดยใช้เรือล่องลำน้ำไปมาหาสู่กัน การเดินเรือทางแม่น้ำลำคลองได้รับความนิยมอย่างสูงในสมัยก่อนเรือหางแมงป่องมีบทบาทมากที่สุดในแม่น้ำปิง ผู้โดยสารหรือพ่อค้าที่อยู่ทางภาคกลาง และหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น ที่เชียงใหม่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ หรือจังหวัดน่าน ได้อาศัยเรือเหล่านี้เดินทางไปธุระ และค้าขายติดต่อกันเสมอถึง กับขนานนามให้แก่ “เรือหางแมงป่อง” นี้ว่าเป็น “สิงห์แม่น้ำปิง” บรรดาราชวงศ์และเจ้านายเมืองเหนือในอดีตก็ล้วนแต่ใช้เรือหางแมงป่องในการเดินทางไปยังเมืองต่างๆมาเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ยุคต่อมาครั้งหนึ่งก็ได้มีการใช้เรือหางแมงป่องในการขนส่งสินค้า และ

Read More
History

พระบรมธาตุไชยา สโบราณสถานสกุลช่างศรีวิชัย

ประวัติการสร้างวัดพระบรมธาตุไชยาไม่ปรากฏหลักฐานปีที่สร้างแน่ชัด จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 -18 พร้อมวัดเวียง วัดแก้ว วัดหลง ต่อมาวัดพระบรมธาตุไชยาร้างมาระยะหนึ่งจนพระครูโสภณเจสิการาม (หนู ติสโส) เป็นหัวหน้าชักชวนบรรดาเจ้าอาวาสวัดต่างๆบูรณะพระอารามแห่งนี้ใน พ.ศ.2439 – 2453 สิ่งก่อสร้างภายในวัดพระบรมธาตุไชยาที่สำคัญ ได้แก่ 1. พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดสถูป เรือนธาตุมีผังเป็นรูปกากบาท

Read More
History

“เมืองหริภุญชัย”ศูนย์กลาง”อารยธรรมมอญ”

เมืองหริภุญชัย ในระยะแรกคงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐทวารวดี ซึ่งมีเมืองละโว้เป็นศูนย์กลาง ภายหลังหริภุญชัยได้แยกตัวเป็นอิสระ และพัฒนาการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคนี้ ต่อมาได้รับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นๆ มาผสมผสาน เช่น ศิลปะจากพุกาม ศิลปะอินเดียสมัยปัลลวะ จนสร้างเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น “มอญหริภุญชัย” ตำนานจามเทวีวงศ์และสังคีติยวงศ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญชัย และการอัญเชิญพระนางจามเทวีจากละโว้มาครองเมืองหริภุญชัย เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 มีขุนนางและผู้เชี่ยวชาญศิลปวิทยาการ เช่น พระภิกษุ นักปราชญ์

Read More
History

“ซิวดัดบลังกา” มหานครลึกลับแห่งเทพวานร

เรื่องราวตำนานที่ถูกเล่าต่อๆ บางครั้งเศษเสี้ยวเหล่านั้นอาจกลายเป็นเรื่องจริงคุณอาจคิดไม่ถึง เช่นเดียวกับการค้นพบในครั้งนี้ เมื่อนักสำรวจพบ เมืองที่สาบสูญและเชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งเทพเจ้าลิง” ที่ล่มสลายเพราะโรคไวรัสกินเนื้อคน ในป่าลึกของประเทศฮอนดูรัส เทือกเขาลามอสกีเตีย ในหุบเขาแห่งนี้อยู่ในภูมิภาคซึ่งเล่าลือกันมาช้านานว่าเป็นที่ตั้งของเมือง “ซิวดัดบลังกา” (Ciudad Blanca) มหานครในตำนานที่สร้างด้วยศิลาสีขาว หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า นครสาบสูญแห่งวานรเทพ นครแห่งเทพเจ้าลิง หรือ La Ciudad

Read More
History

ช่วงชีวิตที่หายไปของ “พระเยซู” เสด็จมาศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย?

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งเป็นที่พูดถึงมานานนับร้อยปีแล้วก็คือ ข้ออ้างที่ว่ากันว่า ประวัติของพระเยซูในช่วงเวลาที่มิได้ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ เนื่องมาจากพระองค์ได้เดินทางมายังโลกตะวันออกเพื่อทำการศึกษาศาสตร์ในตะวันออกทั้งพุทธและพราหมณ์ ก่อนกลับไปเผยแผ่ศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์ แน่นอนว่าข้ออ้างดังกล่าวฟังดูพิลึกกึกกือ และไม่ได้รับการยอมรับในโลกวิชาการ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ เรื่องนี้เคยเป็นที่ถกเถียงใหญ่โตมาแล้ว ซึ่งถึงปัจจุบันในเมืองไทยก็ยังมีคนพูดถึงอยู่บ้างอย่างเลือนราง ไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ผู้เขียนจึงอยากขอเล่าความเป็นมาของทฤษฎีที่ว่านี้ ก่อนอื่นขอเท้าความถึงที่มาของ “ช่วงเวลาที่หายไป” ของพระเยซูจากประวัติของพระองค์ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งพระวรสาร (Gospel) ของมัทธิวได้บอกเล่าเหตุการณ์การประสูติของพระเยซูว่าอยู่ในรัชกาลของกษัตริย์เฮโรด [กษัตริย์แห่งแคว้นยูเดียซึ่งอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดิโรมัน]

Read More
History

“The Thinker”ผลงานชิ้นเอกของ โรแดง

ประติมากรรม”คนครุ่นคิด The Thinker”เป็นประติมากรรม เป็นประติมากรรมบรอนซ์และหินอ่อนที่เป็นรูปชายนั่งคิดเหมือนมีความขัดแย้งภายใน รูปปั้นมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของปรัชญา ที่สร้างโดย”ออกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin)”ประติมากรชาวฝรั่งเศส เดิมประติมากรรมนี้มีชื่อว่า“กวี” เป็นงานที่จ้างโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะตกแต่ง (Musée des Arts Décoratifs) ในปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ โรแดงได้รับแรงบันดาลใจจาก มหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” โดยดานเต

Read More
History

รู้หรือไม่ โมนาลิซ่า ไม่ใช่ชื่อผู้หญิงในรูป

โมนาลิซา ( Mona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (La Gioconda) คือภาพวาดสีน้ำมันที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันงดงาม เป็นรอยยิ้มที่ยิ้มและหัวเราะ ไปพร้อมๆกัน เลโอนาร์โด ดา วินชี(Leonardo da Vinci)ศิลปินชาวอิตาเลียนวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง ค.ศ.

Read More