รามเกียรติ์ กับ​ รามายณะ ความเหมือนที่แตกต่าง

มหากาพย์รามายณะนั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศ เนื้อเรื่องของแต่ละแห่งก็มีเปลี่ยนแปรไปบ้างตามแต่ผู้ถ่ายทอด ทำให้แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้ที่รับการถ่ายทอดวรรณคดีเรื่องนี้ไป ในอินเดียเองก็มีผู้รู้บางท่านวิเคราะห์กันว่าเรื่องนี้น่าจะมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง ในยุคที่ชนเผ่าอารยันซึ่งเคยอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซียอพยพเข้ามายังอินเดีย แน่นอนว่าย่อมหมายถึงฝ่ายของพระราม-พระลักษมณ์ ส่วนทศกัณฐ์และประชาชนยักษ์ก็คือชาวทมิฬ หรือทราวิฑ ชนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ก็มีผู้คัดค้านแนวคิดนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ความแตกต่างของรามเกียรติ์แบบไทยๆกับรามายณะของอินเดียนั้น มีอยู่หลายจุด จะขอยกมาเล่าให้ทราบกันบางส่วนนะครับ เพราะถ้ายกมาทั้งหมดเห็นทีจะต้องเล่ากันยาว ขอเล่าแค่ตัวละครหลักบางท่านก็แล้วกันทศกัณฐ์ (แปลว่าผู้มีสิบคอ ซึ่งก็คือมีสิบหัว) นั้น ทางอินเดียเรียกว่า ราพณ์, ราวัณ หรือราวณะ นางสีดา ก็คือ …

“The Thinker”ผลงานชิ้นเอกของ โรแดง

ประติมากรรม”คนครุ่นคิด The Thinker”เป็นประติมากรรม เป็นประติมากรรมบรอนซ์และหินอ่อนที่เป็นรูปชายนั่งคิดเหมือนมีความขัดแย้งภายใน รูปปั้นมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของปรัชญา ที่สร้างโดย”ออกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin)”ประติมากรชาวฝรั่งเศส เดิมประติมากรรมนี้มีชื่อว่า“กวี” เป็นงานที่จ้างโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะตกแต่ง (Musée des Arts Décoratifs) ในปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ โรแดงได้รับแรงบันดาลใจจาก มหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” โดยดานเต อลิเกียริ และตั้งชื่อประตูว่า “ประตูนรก”ประติมากรรมแต่ละชิ้นเป็นตัวแทนชองตัวละครจากมหากาพย์“ไตรภูมิดานเต” นั่นเอง เดิมประติมากรรม …