History

บทความ สาระน่ารู้เชิงประวัติศาสตร์

28 ธันวาคม 2310 พระเจ้าตากปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้กู้ชาติ!

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นำกำลังตีแหกฝ่าวงล้อมทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนกรุงแตกราว 7 เดือน

3 years ago

วิลาศโปรตุเกส

“โปรตุเกส” คือฝรั่งชาติแรกที่เดินทางมาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2054 หลังจากล่องเรือมาเข้ายึดเมืองมะละกาได้แล้ว ก็เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยได้ส่งราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการจากพระเจ้ามานูเอลแห่งโปรตุเกสเข้ามาถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วย จนมีข้อตกลงที่โปรตุเกสจะช่วยกรุงศรีอยุธยาด้านการทหาร และนำปืนไฟเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก แต่เราก็ต้องให้เสรีทางการค้าและการศาสนากับฝรั่งชาตินี้เป็นการแลกเปลี่ยน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปรากฏว่า มีทหารวิลาศโปรตุเกสจำนวน 120 คน รับหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ จนเกิดสงครามเมืองเชียงกราน…

4 years ago

พระแก้วมรกตเคยเป็นของรัสเซีย?

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ขณะยังดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรสยามเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในปี 2434 ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ เนื่องจากทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นพระสหายที่สนิทแนบแน่นกันมาก ด้วยพระราชไมตรีอันแน่นแฟ้นนี้เองรัชกาลที่ 5 จึงตอบแทนพระสหายว่าหากประสงค์สิ่งใดในสยามก็จะจัดหาให้ไม่ขัดข้อง มกุฎราชกุมารรัสเซียจึงตรัสขอพระราชทาน “พระแก้วมรกต” อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเรา…

4 years ago

ควันหลงศึกตะเบงชเวตี้

ภายหลังเหตุการณ์พระสุริโยไทขาดคอช้างในศึกตะเบงชเวตี้แล้ว ไม่ใช่ว่าจะยุติสงครามทันทีทันใด พม่ายังล้อมกรุงศรีอยุธยาต่ออีก 1 เดือนเต็มๆ จนกระทั่งเสบียงหมด แถมในหงสาวดีเองสมิงธอรามดันฉวยโอกาสก่อกบฏ พระเจ้าตะเบงชเวตี้จึงจำใจต้องรีบถอนทัพกลับ โดยยกขึ้นไปทางกำแพงเพชรเพื่อไปออกด่านแม่ละเมา ระแหงแขวงเมืองตาก . อยุธยาก็ยังอวดดีจัดทัพไล่ตามตีตลบหลังเขาอีก ที่ไหนได้ไปพลาดท่าถูกพม่าซ้อนกลตีกระหนาบจน พระราเมศวร พระมหาธรรมราชา และแม่ทัพนายกองคนสำคัญถูกพม่าจับเหมาเข่ง ชนิดที่ต้องเสียหน้ายอมส่งช้าง ส่งส่วย เพื่อไปแลกตัวเจ้านายทั้ง 2…

4 years ago

ปิดฉาก “ยุทธหัตถี”

จารีตการรบบนหลังช้างมลายหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิงหลังจากศึก "ยุทธหัตถี" ระหว่างสมเด็จพระนเรศวร vs พระมหาอุปราชา...เพราะด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้นมาก โดยเฉพาะปืนยาว (ทั้งปืนคาบศิลากับปืนนกสับ) ทำให้แม่ทัพนายกองที่อยู่บนหลังช้างที่จะทำคชยุทธ์นั้น กลายเป็นเป้านิ่งซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลอบยิงได้ง่าย (นายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่งเจ้าพระยาไชยานุภาพของพระนเรศวรก็ถูกยิงตาย กลางช้างพระที่นั่งเจ้าพระยาปราบไตรจักรของพระเอกาทศรถก็ถูกปืนส่องตายในศึกนี้ด้วย) . เนื่องจากมีการจัดหน่วยสไนเปอร์หรือพลแม่นปืนในกองทัพของแต่ละฝ่ายด้วยนั่นเอง การยุทธหัตถีของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจึงปิดฉากลงในหน้าประวัติศาสตร์ด้วยประการฉะนี้ เพราะหลังจากศึกนี้มาไม่ปรากฏหลักฐานการทำยุทธหัตถีบนหลังช้างกันอีกเลยในอุษาคเนย์

4 years ago

เหตุไฉนพระนเรศวรต้องไปตีอังวะ? ที่ถือเป็นศึกสุดท้าย

สืบเนื่องจากปี 2142 ที่พระองค์ยกทัพไปทำศึกตองอูเพื่อชิงตัวพระเจ้านันทบุเรง บรรดาเมืองต่างๆ ในรัฐฉานหรือไทใหญ่ต่างเข้ามาสวามิภักดิ์กับอยุธยา หนึ่งในนั้นคือ "เมืองแสนหวี" จากนั้นปรากฏว่าเจ้าเมืองแสนหวีดันมาตายเข้าให้ ทางกรมการเมืองเลยส่งพระราชสาส์นมาขอให้พระนเรศวรตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ให้ . เมื่อเวลาล่วงเลยมา หงสาวดีพังพินาศ อาณาจักรพม่ารามัญระส่ำระสาย พระเจ้ายองยาน(สีหสุธรรมราชา) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง ถือโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่นำทัพไปยึดเมืองอังวะเป็นฐานที่มั่น แล้วขยายอำนาจไปตีเมืองนาย เมืองยองห้วย กับเมืองแสนหวี ซึ่งทั้งหมดขึ้นกับอโยธยา!…

4 years ago

รามเกียรติ์ กับ​ รามายณะ ความเหมือนที่แตกต่าง

มหากาพย์รามายณะนั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศ เนื้อเรื่องของแต่ละแห่งก็มีเปลี่ยนแปรไปบ้างตามแต่ผู้ถ่ายทอด ทำให้แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้ที่รับการถ่ายทอดวรรณคดีเรื่องนี้ไป ในอินเดียเองก็มีผู้รู้บางท่านวิเคราะห์กันว่าเรื่องนี้น่าจะมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง ในยุคที่ชนเผ่าอารยันซึ่งเคยอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซียอพยพเข้ามายังอินเดีย แน่นอนว่าย่อมหมายถึงฝ่ายของพระราม-พระลักษมณ์ ส่วนทศกัณฐ์และประชาชนยักษ์ก็คือชาวทมิฬ หรือทราวิฑ ชนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ก็มีผู้คัดค้านแนวคิดนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ความแตกต่างของรามเกียรติ์แบบไทยๆกับรามายณะของอินเดียนั้น มีอยู่หลายจุด จะขอยกมาเล่าให้ทราบกันบางส่วนนะครับ เพราะถ้ายกมาทั้งหมดเห็นทีจะต้องเล่ากันยาว ขอเล่าแค่ตัวละครหลักบางท่านก็แล้วกันทศกัณฐ์ (แปลว่าผู้มีสิบคอ ซึ่งก็คือมีสิบหัว) นั้น ทางอินเดียเรียกว่า…

4 years ago

“อชันตา” วัดถ้ำในพระพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก

ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) เมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย...ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพระพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้าง ราวพ.ศ.350 โดยถ้ำระยะแรกยังไม่มีพระพุทธรูปมีเพียงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา เช่นธรรมจักร ต้นโพธิ์ เจดีย์ เป็นต้น ภายหลังเมื่อมีคติการสร้างพระพุทธรูปเมื่อราวหลัง พ.ศ.500 ก็ปรากฏพระพุทธรูปขึ้นที่ถ้ำอชันต้าแห่งนี้ โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ…

4 years ago

พระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 ผู้ให้กำเนิด พระพุทธรูปองค์แรกในโลก

พระพุทธรูปคือรูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ…

4 years ago

ประวัติความเป็นมาของแผนที่

มนุษย์รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆลงบนแผนที่ตั้งแต่โบราณ ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เสียอีก ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาตญาณพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ชาวเอสกิโมใช้การทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักไว้ที่หนังแมวน้ำเพื่อแสดงแผนที่ของบริเวณล่าสัตว์ ชาวเกาะมาร์แชลเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนแผนที่เกาะ แทนเส้นทางเดินเรือและบริเวณที่มีคลื่นลมแรง แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบ ไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน…

4 years ago

This website uses cookies.