ภัยแล้งทำอาหารสดราคาขึ้น แต่คนไม่ใช้จ่ายกดเงินเฟ้อลด

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.พ.63 ว่า เท่ากับ 102.70 ลดลง 0.08% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.63 และเพิ่มขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.62 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือน ม.ค.ที่สูงขึ้น 1.05% มีปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารสด เพราะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นหลัก ขณะที่กลุ่มพลังงานที่เคยเป็นตัวผลักดันเงินเฟ้อกลับหดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ยังปกติ “เงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคชะลอตัว จากไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนจับจ่ายลดลง และนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้การซื้อขายสินค้าลดลงตาม ราคาส่วนใหญ่เลยทรงตัว

ส่วนปัญหาการกักตุนอาหารจนทำให้ราคาสูงขึ้นและกระทบต่อเงินเฟ้อหรือไม่นั้น น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องกักตุน เพราะไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ไม่ใช่แค่เฉพาะของไทย แต่ยังเป็นครัวของโลก มีสินค้าเพียงพอต่อความ ต้องการแน่นอน และยิ่งช่วงนี้นักท่องเที่ยวมาน้อย ไม่มีการบริโภคเพิ่ม สินค้ายิ่งมีเพียงพอ ส่วนแนวโน้มราคาสินค้าช่วงต่อไปนั้น สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งจะยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง โดยเฉพาะหมวดอาหารสด เช่น ข้าวถุง โดยเฉพาะข้าวเหนียวราคาสูงถึง 39% จากผลผลิตลดลงและหากไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย จะทำให้มีความต้องการซื้อข้าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ไทยก็จะยิ่งขายได้มากขึ้น ขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์อย่างสุกร ราคาขยับขึ้น เพราะส่งออกมากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *