Food

“Monderiz Japan” แตกไลน์เจาะตลาดมันฝรั่งทอดกรอบ หวังเพิ่มยอดขาย

Photo: https://nlab.itmedia.co.jp

บริษัท Monderiz Japan ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Monderiz International ผู้ผลิตขนมของว่างชื่อดังสัญชาติอเมริกาซึ่งจําหน่ายขนมแครกเกอร์แบรนด์ Ritz และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หันมารุกตลาดขนมขบเคี้ยวในญี่ปุ่น ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ซึ่งเป็นมันฝรั่งทอดกรอบ “Ritz Baked Chips -Salt & Black Pepper” โดยชูจุดขายเป็นขนมที่สามารถรับประทานที่บ้านได้สะดวกและมีรสชาติเข้ากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างดี เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นที่มีแนวโน้มเลือกดื่มที่บ้านมากขึ้น

สินค้าดังกล่าวทําจากส่วนผสมของมันและแป้งข้าวสาลีที่ทําให้เป็นแผนบางก่อนจะนําเข้าไปย่างในเตาอบ ซึ่งให้รสชาติที่อ่อนกว่าแครกเกอร์ปกติ โดยมีจุดเด่นคือรสชาติเกลือและพริกไทยที่เข้มข้นเหมาะเป็นกับแกล้มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สําหรับลูกค้าเป้าหมายคือกลุ่มวัยทํางานอายุระหว่าง 20 ถึง 49 ปี ซึ่งมีพฤติกรรมชอบทานของว่างระหว่างทํางาน ในการโปรโมตสินค้าครั้งนี้ บริษัทได้เสนอวิธีรับประทานแบบใหม่โดยการแจกไม้คีบเฉพาะ โดยจะแจกให้ผู้ที่เข้าร่วมแคมเปญสินค้าบน twitter จํานวน 1,000 ชิ้น และเตรียมแจกภายในร้านค้าปลีกทั่วไป เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในตัวเมืองโตเกียวจํานวนกว่า 1 หมื่นชิ้น

Photo : https://nlab.itmedia.co.jp

สินค้าหลักของบริษัท Ritz cracker ที่จําหน่ายมายาวนานแล้วมีกลุ่มลูกค้าอายุระหว่าง 30 ถึง 59 ปี เป็นผู้ซื้อส่วนใหญ่ บริษัทจึงเลือกพัฒนาสินค้าใหม่ที่แตกไลน์ออกมาจากสินค้าหลักด้วยการนําเสนอมันฝรั่งทอดกรอบที่เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยกว่า ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสําหรับบริษัทในช่วงที่ผ่านมา ข้อมูลจากสมาคม Japan Snack Cereal Foods Association พบว่าตลาดอาหารว่างขนมขบเคี้ยวในปี 2017 มีมูลค่าถึง 2.684 แสนล้านเยน ถึงแม้มูลค่าในตลาดจะทรงตัวมาตั้งแต่ปี 2015 แต่กลับพบว่าการแข่งขันในตลาดนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมีมูลค่าสูงกว่าตลาดแครกเกอร์อย่างมากในญี่ปุ่น จึงเป็นโอกาสในการเจาะตลาดนี้เพื่อเพิ่มยอดขายโดยรวมให้บริษัทได้

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดขนมขบเคี้ยวในญี่ปุ่นเริ่มเห็นกระแสที่ผู้เล่นในตลาดหันมาพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดและเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มหนุ่มสาววัยรุ่นที่มีแนวโน้มเลือกซื้อขนมขบเคี้ยวมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ข้อมูลโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) พบว่าปริมาณบริโภคสินค้าขนมของชาวญี่ปุ่นทรงตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2015 ถึง ปี 2017 ในขณะที่ปริมาณการผลิตสินค้าขนมในประเทศกลับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงอุปทานในประเทศที่ขยายตัวเนื่องจากสภาวะการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณนําเข้าขนมจากต่างประเทศรวมถึงไทยเองก็ได้รับผลกระทบในเชิงลบเช่นกัน สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทบิสกิตหวานไปยังญี่ปุ่น (รหัสHS code : 190531) ในปี 2018 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 363,659 ดอลล่าห์สหรัฐ หดตัวลงจากปีก่อนซึ่งมีมูลค่าถึง 683,569 ดอลล่าห์สหรัฐ หรือคิดเป็นการหดตัวถึงร้อยละ 46.76 และมีแนวโน้มจะหดตัวลงต่อจากการแข่งขันในตลาดขนมญี่ปุ่นที่สูงขึ้น

อ้างอิง หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับลงวันที่ 22 มีนาคม 2562, ditp.go.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *