การเลิกสงสารตัวเองจะ ทำให้คุณแกร่งขึ้น

เจเรไมห์ เดนตัน รับใช้ชาติในตำแหน่งนักบินกองทัพเรือช่วงสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1965 เครื่องบินของเขาถูกยิงร่วง ทำให้เขาต้องสละเครื่องบิน เขาถูกจับโดยฝ่ายเวียดนามเหนือและถูกพาตัวไปในฐานะเชลยศึก

นาวาโท เดนตันและนายทหารคนอื่นยังคงบังคับบัญชาเชลยคนอื่น ๆ แม้จะถูกซ้อม ให้อดอาหาร และโดนทรมานอยู่ทุกวัน นาวาโท เดนตัน ถูกนำตัวไปขังเดี่ยวอยู่บ่อย ๆ นื่องจากชักนำให้นักโทษคนอื่นต่อต้านทหารเวียดนามเหนือจากการล้วงความลับ แต่นั่นก็ไม่สามารถหยุด นาโท เดนตันได้ เขาคิดกลยุทธ์ในการสื่อสารกับนัโทษคนอื่นโคยใช้สัญลักษณ์ การเคาะผนัง และการไอ ตามลำดับ

10 เดือนหลังจากโดนจับกุม เขาได้รับเลือกให้ไปสัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ที่จัดขึ้นเพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ ในขณะที่กำลังถูกถามอยู่นั้น เขาแสร้งว่าแสงจ้าจากกล้องรบกวนสายตาของเขา แล้วก็เริ่มกะพริบตาเป็นรหัสมอร์ส (เป็นการส่งข้อความด้วยสัญลักษณ์จุดและขีดแทนตัวอักษรต่าง ๆ ) ว่าทรมาน เพื่อที่จะแอบส่งข้อความว่า เขาและผู้ต้องขังคนอื่นถูกกระทำทารุณจากผู้คุมขัง ตลอดการสัมภาษณ์เขากะพริบตาต่อเรื่อย ๆ เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อรัฐบาลสหรัฐฯ

เขาถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1973 หลังจากถูกจับไปเป็นเวลา 7 ปี ตอนที่เขาก้าวลงจากเครื่องบินในฐานะผู้มีอิสรภาพ เขากล่าวว่า “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสรับใช้ประเทศภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก พวกเรารู้สึกขอบคุณผู้บังคับบัญชาและประเทศของเราอย่างสุดซึ้งสำหรับวันนี้ ขอพระเจ้าคุ้มครองอเมริกา” หลังจากเกษียณจากกองทัพในปี ค.ศ. 1977 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแอละแบมา

แม้ตัวเขาจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างไม่อาจจินตนาการได้ แต่เจเรไมห์ เดนตัน ไม่เสียเวลามาสงสารตัวเอง เขากลับคงสติและจดจ่อทำสิ่งที่ทำได้เพื่อจัดการกับสถานการณ์นั้น ๆ แม้หลังถูกปล่อยตัวเขาก็เลือกที่จะรู้สึกขอบคุณที่มีโอกาสได้รับใช้ประเทศชาติมากกว่าจะสงสารตัวเองที่ต้องเสียเวลาไป

นักวิจัยได้ศึกษาความต่างที่เกิดขึ้นระหว่างคนที่เพ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่เป็นภาระของพวกเขากับสิ่งที่พวกเขารู้สึกขอบคุณ เพียงแค่รับรู้ถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณสองสามอย่างในแต่ละวันก็เป็นวิธีที่ทรงพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงแล้ว ในความเป็นจริงความรู้สึกขอบคุณไม่เพียงแค่มีผลต่อสุขภาพจิต แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพกายด้วย งานวิจัยในปี ค.ศ. 2003 ที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Personality and Social Psychology พบว่า

คนที่มีความรู้สึกขอบคุณไม่ป่วยบ่อยเท่ากับคนอื่น
พวกเขามีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า มีรายงานถึงการเป็นไข้และความปวดน้อยกว่า มีความดันโลหิตที่ต่ำกว่า และออกกำลังกายบ่อยกว่าประชากรโดยรวม พวกเขาใส่ใจสุขภาพตัวเองมากกว่า หลับยาวกว่า และรู้สึกสดชื่นกว่ายามตื่นนอน

ความรู้สึกขอบคุณนำไปสู่อารมณ์บวกมากขึ้น
คนที่รู้สึกขอบคุณประสบกับความสุข ความเบิกบาน และความพอใจ มากกว่าในชีวิตประจำวัน พวกเขายังรู้สึกตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่ามากกว่าอีกด้วย

ความรู้สึกขอบคุณช่วยพัฒนาการเข้าสังคม
คนที่มีความรู้สึกขอบคุณจะยกโทษให้คนอื่นง่ายกว่า พวกเขาประพฤติตนในแบบที่เข้ากับผู้อื่นได้ง่ายกว่า รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวน้อยกว่า พวกเขายังมีแนวโน้มจะช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่า รวมถึงมีลักษณะที่ใจกว้าง และเห็นอกเห็นใจด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *