ห่าลงครั้งแรกคนตาย 30,000 คน เปลี่ยนเมืองเป็นทุพภิกขภัย

ห่าลงปีมะโรง อันเป็นระบาดของอหิวาตกโรค หรือ โรคห่าในไทยนั้น มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สมัยรัชกาลที่ 2 จากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เล่าถึงการระบาดรุนแรงของอหิวาตกโรคไว้ว่า ในปี พ.ศ.2363 ที่มีการระบาดจากอินเดียเข้ามาไทย ผ่านทางปีนัง และหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เข้ามาถึงสมุทรปราการและพระนคร ระบาด 2 สัปดาห์ ทำให้มีคนตายประมาณ 30,000 คน จนเผาศพไม่ทัน กองอยู่เกลื่อนกลาด เต็มไปด้วยซากศพประชาชนอพยพหนีออกจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด

เมื่อยาเอาชนะโรคห่าไม่ได้ รัชกาลที่ 2 ท่านก็สู้ด้วยการหาที่พึ่งทางใจ จัดพิธีทางพุทธศาสนา เรียกว่า พิธีอาพาธพินาศ ขึ้นเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ค่ำ ชื่อเต็มๆ ของโรคนี้ ภาษามคธว่า อหิวาตกโรค แปลว่า โรคร้ายอันเกิดขึ้นแล้วแต่ลม มีความระบาดเร็ว แต่ความรู้ในสมัยต่อมา คือ โรคอหิวาต์มาในน้ำล้วนๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : หนังสือ 100 เหตุการณ์สำคัญ เปลี่ยนแปลงสยามประเทศ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *